“แคนนาบิสกับกัญชามันก็คืออย่างเดียวกันแหละ” หลายคนคงมีความคิดแบบนี้ แต่มันเป็นความเข้าใจที่ผิด! วันนี้จึงมาอธิบายให้ทุกคนได้รู้ว่าจริงๆแล้วแคนนาบิสนั้นคืออะไรและไขข้อข้องใจของกัญชาและกัญชงไปพร้อมๆกัน แคนนาบิสนั้นคือชื่อของพืชดอก (flowering plant) ซึ่งเป็นพืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้เห็น มีอวัยวะต่างๆครบสมบูรณ์ คือ ราก ลำต้น ใบ ดอกและเมล็ดไว้เพื่อขยายพันธุ์ ต้นแคนนาบิสนั้นสามารถนำดอกและส่วนต่างๆของต้นมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านอาหาร ด้านการแพทย์และด้านความเพลิดเพลิน
ก่อนที่อธิบายชนิดต่างๆของต้นแคนนาบิส เราควรรู้ไว้ก่อนว่าแคนนาบิสและกัญชานั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน! มาลีฮวนน่า (Marijuana) กัญชา คือ’ศัพท์สแลง'ที่ใช้เรียกส่วนดอก*ของต้นแคนนาบิสที่นำมาสูบหรือชนิดของต้นแคนนาบิสที่มีประสงค์การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวมาใช้ด้านการแพทย์และเพื่อความเพลิดเพลินพืชตระกูลแคนนาบิส (Cannabis) แบ่งชนิดเป็น 3 ชนิดคือ
-ซาติว่า (Sativa)
- อินดีก้า (Indica)
- รูเดอราริส (Ruderalis)
ต่อไปจะมีการอธิบายถึงต้นแคนนาบิสสองชนิดเด่นๆที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกอย่างที่รู้กันก็คือ ซาติว่าและอินดีก้า ความแตกต่างทั้งลักษณะต้น ระยะเวลาการโตและฤทธิ์ของดอกที่ผลิตออกมา - พร้อมกับชี้ให้เห็นความต่างของกัญชงและความสำคัญที่ทำให้มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเกษตร
1. ซาติว่า - Sativa (C.Sativa)
คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนได้ตั้งชื่อ Sativa จากภาษาละตินที่มีความหมายว่า การเพาะปลูก แคนนาบิสชนิดซาติว่านั้น 'เชื่อว่า'มีแหล่งกำเนิดอยู่ในแถบประเทศใกล้เส้นศูนย์สูตร (ประวัติศาสตร์การระบุประเทศคงไม่ชัดเจนเพราะต้นแคนนาบิสนั้นมีการเติบโตและแพร่กระจายไปทั่วโลกแต่คาดว่าน่าจะมาจากประเทศอาทิเช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก ไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ซาติว่าเป็นพืชที่มีลำต้นที่หนาและแข็งแรง ลักษณะใบยาวและเรียว สามารถโตสูงได้ 1.5-7.5 เมตร (5-25 ฟุต) มีสีเขียวอ่อน(กว่าอินดีก้า) และมีระยะเวลาการโตเพื่อเก็บเกี่ยวที่นานระหว่าง 9-16 สัปดาห์
การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)
ซาติว่านั้นจะมีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) น้อยกว่าอินดีก้าจึงมีระยะการเติบโตที่นานกว่าและมีรงควัตถุ (accessory pigments) ที่ทำหน้าที่จับพลังงานแสงแดดเยอะกว่าจึงทำให้ซาติว่านั้นโตได้ดีในแถบประเทศที่อากาศร้อนแดดจัดๆ
ซาติว่ามีสาร THC ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (psychoactive) ที่สูงกว่าอินดีก้าทำให้ผู้ที่ได้รับสารเข้าไปในร่างกายมีความรู้สึกที่คึกคักและกระปรี้กระเปร่า THC เป็นตัวการที่ออกฤทธิ์ความรู้สึกที่เคลิบเคลิ้มสุขหรืออาการเมา ‘high’ นั่นเอง!
2. เฮมพ์ - Hemp (C.Sativa)
เฮมพ์นั้นคือแคนนาบิสสายพันธุ์เดียวกับซาติว่า เนื่องจากลักษณะของต้นที่โตสูงพร้อมกับมีลำต้นที่หนาและแข็งแรงทำให้ผลิตใยธรรมชาติที่เรียกได้ว่าทนทานที่สุดในโลก ในประวัติศาสตร์นั้นมีการบันทึกการใช้ประโยชน์ของเฮมพ์นานเสียยิ่งว่ากัญชา! มีการบันทึกถึงการใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมการเกษตรก่อนที่จะมีการนำส่วนต่างๆของต้นมาสูบหรือสกัดเป็นยา ประโยชน์สำคัญที่สุดของเฮมพ์ในยุคล่าอาณานิคมนั้นคือการนำใยมาทำเป็นเชือกและผ้าใบโดยนักเดินเรือชาวฟินิเซียน กรีกและโรมัน และได้มีการระบุการค้นพบเส้นใยเฮมพ์ที่ได้ถักเป็นเครื่องนุ่งห่มในประเทศจีนในราชวงศ์โจวเมื่อ 10,000 BC และเมล็ดของเฮมพ์นั้นก็เป็นหนึ่งในธัญพืชสำคัญที่มีการรับประทานทั่วโลกมานานหลายพันปี รวมไปถึงการผลิตกระดาษยุคแรกๆของโลกเช่นเดียวกัน
ความต่างของเฮมพ์และซาติว่าเป็นอย่างไร?
ทั้งสองเป็นแคนนาบิสชนิดเดียวกัน ทั้งลักษณะต้นและการเจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิและอากาศเหมือนกัน แต่มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน! ความต่างของกัญชาและกัญชงนั้นอยู่ประสงค์ในการปลูก กัญชาปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวต้นตัวเมียที่ผลิตดอกนำมาสูบหรือสกัดเป็นยา ส่วนกัญชงนั้นจะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวส่วนต้นเพื่อใยธรรมชาติหรือส่วนเมล็ดที่สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันได้
เนื่องจากส่วนดอกที่นำมาสูบให้เมา ‘กัญชา' (Marijuana) นั้นถูกทำให้ผิดกฎหมายและเข้าข่ายเป็นยาเสพติด (รวมไปถึงเฮมพ์เพราะว่าอยู่ในชนิดเดียวกันกับซาติว่า)ตัวการหลักคือ THC ที่ออกฤทธิ์ด้านประสาท แต่เพราะรัฐบาลต่างมองเห็นความสำคัญของการปลูกเฮมพ์จึงได้มีการตั้งค่าของ THC ไว้ที่ 0.3% โดยนาย Ernest Small (นักวิจัยด้านการเกษตรที่ต้องการให้มีการปลูกเฮมพ์ได้อย่างถูกกฎหมายในแคนนาดา) และได้เป็นมาตราฐานที่มีการยอมรับทั่วโลกในการปลูกเฮมพ์อย่างถูกกฎหมาย จากเฮมพ์จึงมีอีกชื่ออย่างเป็นทางการคือ "Industrial Hemp เฮมพ์เพื่ออุตสาหกรรมเกษตร หรือกัญชงนั่นเอง"
ด้านกฎหมายแบ่งเส้นไว้ว่า ต้นแคนนาบิสที่มีค่า THC ต่ำกว่า 0.3% จึงเรียกได้ว่าเป็นเฮมพ์หรือกัญชง หากสูงกว่านั้นจะเข้าข่ายเป็นกัญชา ความต่างจึงเห็นได้ว่าเป็นประสงค์ในการปลูกโดยเคารพกฎหมายของแต่ละประเทศ ส่วนในประเทศไทยนั้นก็มีการปลูกกัญชงอย่างถูกกฎหมายได้ตั้งแต่ปี 2009 พร้อมกับมีการสนับสนุนจากโครงการหลวงของสมเด็จพระบรมราชินีที่ส่งเสริมให้ปลูกกัญชงในบริเวณใกล้ชายแดนพม่าเพื่อเป็นรายได้ให้กับชาวม้งชาวเขา หากใครสนใจปลูกกัญชงก็ต้องยื่นเรื่องเข้ารัฐบาลเพื่อขอใบอนุญาติและเมล็ดมาปลูกเพื่ออุตสาหกรรมเกษตรเช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กระดาษ น้ำมัน เมล็ดอาหาร ฯลฯ
3. อินดิก้า - Indica (C.Indica)
ชองบัปติสต์ เดลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบความแตกต่างของแคนนาบิสชนิดนี้ในแถบอินเดียจึงมีตั้งชื่อ โดยมีคำนำหน้าว่า Indi-
แคนนาบิสอินดีก้านั้น'เชื่อว่า'มีแหล่งกำเนิดอยู่แถบประเทศตะวันออกกลาง (ประวัติศาสตร์การระบุประเทศคงไม่ชัดเจนเพราะต้นแคนนาบิสนั้นมีการเติบโตและแพร่กระจายไปทั่วโลกแต่คาดว่าน่าจะมาจากประเทศอาทิเช่น ปากีสถาน อัฟกานิสถาน อินเดีย และเทือกเขาทิเบต)
อินดีก้านั้นมีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ยโดยจะมีความสูงจะอยู่ที่ 60-180 เซนติเมตร (2-6 ฟุต) ลักษณะหน้าใบกว้างและสั้น มักมีสีเขียวเข้ม(กว่าซาติว่า) พร้อมกับมีใบ กิ่งก้านที่ดกและหนาซึ่งเหมาะกับการสกัดเพื่อเอาน้ำมันเพื่อมาทำเป็นแฮช* ระยะเวลาการโตเพื่อเก็บเกี่ยวนั้นอยู่ระหว่าง 6-8 สัปดาห์
การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)
อินดีก้านั้นมีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ที่สูงจึงทำให้โตเร็วกว่าซาติว่าและเป็นสาเหตุที่ทำให้มีสีเขียวเข้มกว่าเช่นเดียวกัน แต่จะมีรงควัตถุ (accessory pigments) ที่ทำหน้าที่จับพลังงานแสงแดดที่น้อยกว่าจึงมีการเติบโตในประเทศที่มีอากาศเย็น ด้วยลักษณะของต้นและการเจริญเติบโตของอินดีก้าแล้วคนมักนิยมปลูกในร่ม (indoors) เพราะไม่กินเนื้อที่และแสงไฟเท่าซาติว่า
อินดีก้าเป็นต้นที่มีค่า CBD ที่สูงโดยธรรมชาติ เป็นสารที่ออกฤทธิ์ระงับประสาท (sedative) มีประโยชน์ในการทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและรักษาอาการปวดเรื้อรัง และ CBD ไม่มีการออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (non-psychocative)
สรุปกันอีกครั้ง
Cannabis = ต้นแคนนาบิส
มีสามชนิด ซาติว่า อินดีก้า รูเดอราริส (จะมีการอธิบายรูเดอราริสในบทความต่อไป)
แคนนาบิสแบ่งประโยชน์ออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.Marijuana = กัญชา
ต้นกัญชาคือแคนนาบิสที่เพาะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวดอกมาใช้ (ทั้งด้านการแพทย์และเพื่อความเพลิดเพลิน)
2.Hemp = กัญชง
ต้นกัญชงคือแคนนาบิสที่เพาะปลูกเพื่อใช้ด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและมีค่า THC ต่ำกว่า 0.3% ตามหลักกฎหมาย
Cr.High Thailand
ความต่างของต้นแคนนาบิส "กัญชา&กัญชง"
Reviewed by กัญชา
on
08:50
Rating: