ข้อควรรู้เกี่ยวกับกัญชา

1. โดยรวมแล้ว กัญชามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายกับพวกยากระตุ้นประสาท ยากดประสาท ยาหลอนประสาท ยาแก้ปวด และยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หลายประการในยาตัวเดียวกัน ผู้เสพกัญชาจึงมีอาการเคลิ้มจิต โดยในขั้นต้นมักจะเป็นอาการกระตุ้นประสาท บางคนจะมีอาการตึงเครียดทางใจหรือมีอาการกังวล ต่อมาก็มีอาการเคลิ้มจิตเคลิ้มใจ ทำให้รู้สึกว่าบรรยากาศทั่ว ๆ ไปเงียบสงบ จากนั้นก็มักจะมีปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เดี๋ยวหัวเราะลั่น เดี๋ยวสงบ ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบได้คือ ผู้เสพจะรู้สึกล่องลอย สับสน ปากแห้ง อยากอาหาร ชีพจรเพิ่มขึ้น ตาแดงขึ้นในขณะที่เสพ หากเสพเป็นประจำสุขภาพโดยรวมจะเสื่อมลง เป็นโรคหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ทางเดินหายใจอักเสบ ท้องร่วง เป็นตะคริว
2. จากการศึกษาการกระจายตัวของสาร THC พบว่า การสูดดมควัน สาร THC จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายประมาณ 10-35% ส่วนการเสพโดยการกลืนลงในระบบทางเดินอาหาร จะถูกดูดซึมเพียง 6-20% ร่างกายจะต้องใช้เวลาประมาณ 1.6-59 ชั่วโมง ในการกำจัดปริมาณของสาร THC ในกระแสเลือด 50% โดยผ่านทางปัสสาวะและอุจจาระ ฤทธิ์ของกัญชาเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายจะแทรกซึมเข้าสู่กระเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้สูงสุดถึง 1 ชั่วโมง อาการโดยทั่วไปจะเซื่องซึมลงอย่างช้า ๆ แต่บางรายก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
3. ฤทธิ์ของมันทำให้ผู้สูบหรือเสพเข้าไปแล้วจะทำให้ติด เกิดอาการเพ้อฝัน ความจำเลอะเลือน ตัวสั่น ทำให้เป็นคนเสียสติ เป็นคนวิกลจริตพิการ ฉะนั้นเมื่อมีการใช้ จึงควรใช้ในขนาดที่เหมาะสม[1]
4. ส่วนของกัญชาที่นำมาใช้เสพ คือ ส่วนของใบและยอดช่อดอกกัญชาเพศเมีย (กะหลี่กัญชา) เนื่องจากมีสาร THC มากกว่าส่วนอื่น โดยนำมาตากแห้งแล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ บางคนอาจเคี้ยวใบหรือใช้เจือปนกับอาหารรับประทาน ซึ่งจะช่วยเจริญอาหารได้ ดังที่แม่ค้าขายส้มตำและอาหารอีสาน นำใบกัญชาแห้งมาต้มใส่ปลาร้า ทำให้ลูกค้าติดใจในรสชาติ
5. ผู้เสพมักเสพด้วยวิธีการสูบควัน ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “บ้อง” ซึ่งอาจจะทำมาจากวัสดุต่างกันหลายชนิด เช่น บ้องแก้ว, บ้องไม้ไผ่ ฯลฯ โดยวิธีการสูบจะนำกัญชาที่เป็นก้อนอัดแท่งมาสับให้ละเอียด หรือเรียกว่า “ยำ” เสร็จแล้วจึงนำผงกัญชาที่สับได้มาอัดใส่ตรงส่วนจะงอยที่ยื่นออกมาของบ้อง แล้วจุดไฟเผาโดยตรงไปที่ผงกัญชา และผู้เสพจะสูบอัดควันเข้าไปเต็มปอดให้ได้มากที่สุด ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็คือการนำมามวนเป็นบุหรี่สูบ (ไม่เป็นที่นิยมเท่าวิธีแรก) นอกจากนี้ยังเสพด้วยการกินทั้งใบสดและใบแห้ง (ข้อมูลจาก : pantip.com by pinspin)
6. ยอดของต้นเพศเมียที่กำลังออกดอกจะเรียกว่า “กะหลี่กัญชา” เมื่อนำมาตากแห้งแล้ว จะนิยมนำมาใช้สูบ ซึ่งกะหลี่กัญชาจะให้เรซินซึ่งเป็นยาเสพติด (เป็นส่วนที่มีฤทธิ์มากที่สุด) ผู้ที่เมากัญชาจะมีอาการเกิดขึ้นต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น อาจมีอารมณ์สนุกหรืออารมณ์โศกเศร้าก็ได้ มีความรู้สึกเลอะเลือนในเรื่องเวลา บ้างมีอาการก้าวร้าว บางคนมีอาการหวาดกลัว ความคิดสับสน เกิดอารมณ์เคลิ้มฝัน โดยฤทธิ์ของกัญชานั้นจะอยู่ในร่างกายได้นาน 3-5 ชั่วโมง หลังจากนี้ผู้เสพจะมีอาการเซื่องซึมและหิวกระหาย เมื่อสร่างแล้วจะนิยมกินของหวาน ผู้ที่สูบเป็นประจำมักจะสมองเสื่อมและเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
7. จากการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสาร THC ในกัญชา พบว่าสาร THC จะเข้าไปจับกับตัวรับในสมองซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Cannabinoid receptor ซึ่งจะส่งผลต่อความจำ การมีสติ ความคิด ความสมดุลในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และความอยากอาหาร
8. สำหรับประเทศไทยจัดให้กัญชาอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 โดยห้ามมิให้ประชาชนมีไว้ครอบครองหรือเสพ แต่อนุญาตให้ใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น โดยเป็นในรูปแบบของสารสกัด THC ที่มีสัดส่วนแน่นอนและได้มาตรฐานทางการแพทย์เท่านั้น[5] ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท และหากครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
9. ในกัญชามีสารเคมี cannabinoids มากถึง 30 ชนิดอยู่จำนวนหนึ่ง โดยสารสำคัญในกลุ่มนี้ที่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol -THC) ซึ่งสารดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท หากมีไว้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาต จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท
10. ยาที่สกัดจากกัญชามีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็นยาแคปซูลชนิดรับประทาน มีขนาดบรรจุของ Dronabinol 2.5, 5, 10 มิลลิกรัมต่อแคปซูล มีชื่อทางการค้าว่า Marinol (มารินอล) ซึ่งแพทย์จะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้อยากอาหารและลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดในผู้ป่วย
11. ด้วยประโยชน์มากมายของกัญชา จึงทำให้ในบางประเทศ อนุญาตให้ปลูกและซื้อขายกัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น ในสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายให้ 14 มลรัฐสามารถใช้กัญชาในทางการแพทย์ได้, ในเนเธอร์แลนด์อนุญาตให้มีการสูบได้อย่างถูกกฎหมาย สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่ยังไม่อนุญาตให้ผลิตหรือปลูกได้เอง ในขณะที่อุรุกวัยอนุญาตให้มีการปลูกและซื้อขายกัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย เป็นต้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับกัญชา ข้อควรรู้เกี่ยวกับกัญชา Reviewed by กัญชา on 09:11 Rating: 5
loading...
loading...
ขับเคลื่อนโดย Blogger.